วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของไวรัสคอมพิวเตอร์ พิมพ์ อีเมล์
        โปรแกรมที่สามารถสำเนาตัวเองได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 โดย ดร.เฟรดเดอริก โคเฮน นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาโปรแกรมลักษณะนี้และได้ตั้งชื่อว่า "ไวรัส" แต่ไวรัสที่แพร่ระบาดและสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่มีการบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ด้วยผลงานของไวรัสที่ชื่อ "เบรน (Brain)" ซึ่งเขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์สองพี่น้องชาวปากีสถาน ชื่อ อัมจาด (Amjad) และ เบซิท (Basit) เพื่อป้องกันการคัดลอกทำสำเนาโปรแกรมของพวกเขาโดยไม่จ่ายเงิน
        ไวรัสคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ จะระบาดโดยการสำเนาซอฟท์แวร์เถื่อนหรือซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีโปรแกรมไวรัสคอมพิวเตอร์ติดอยู่ ด้วยการใช้แผ่น FLOPPY DISK หรือซีดีรอม แต่ในปัจจุบันเนื่องจากการเติบโตของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ไวรัสยุคหลังๆ มีความสามารถในการทำสำเนาคัดลอกและแพร่กระจายตัวเองได้มากขึ้น รวมทั้งมีความรุนแรงมากกว่าเดิมในปัจจุบันนี้พบว่ามีมากกว่า 40,000 ชนิด และยังเกิดเพิ่มขึ้นอีกอยู่ทุกๆ วัน อย่างน้อยวันละ 4-6 ตัว

ความหมายของไวรัสคอมพิวเตอร์
        ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นให้สามารถจัดการกับตัวมันเอง โดยมีลักษณะเลียนแบบสิ่งมีชีวิต คือเจริญเติบโตเองได้ ขยายและแพร่กระจายตัวเองได้ สามารถอยู่รอดได้ด้วยการอำพรางตน เหมือนกับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคร้ายทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเอง
        ไวรัสคอมพิวเตอร์ สามารถสำเนาตัวเองให้แพร่กระจายไปยังไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ผ่านตัวกลางที่เป็นพาหะเช่น การสำเนาไฟล์ด้วยแผ่นดิสค์เก็ตระหว่างเครื่อง การสำเนาข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสาร
        การที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดติดไวรัส หมายความว่า ไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งการที่จะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้จะต้องมีการถูกเรียกใช้งานหรือถูกกระตุ้นให้ทำงาน (ขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสชนิดนั้นๆ) ซึ่งปกติผู้ใช้เครื่องมักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกไวรัสคอมพิวเตอร์ให้ขึ้นมาทำงานแล้ว
        การทำงานของไวรัสแต่ละตัวจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมา เช่น ทำลายระบบปฏิบัติการ โปรแกรมใช้งานหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรบกวนการทำงาน เช่น การบู๊ตระบบช้าลง เรียกใช้โปรแกรมได้ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดอาการค้าง (แฮงค์ไม่ทราบสาเหตุ) เกิดข้อความวิ่งไปมาที่หน้าจอ หรือกรอบข้อความเตือนไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
        เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าชื่อของไวรัสที่เห็นทั่วไปนั้นมีความหมายว่าอย่างไร ทำไมบริษัทที่พัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสจึงตั้งชื่อแตกต่างกันไป ทั้งๆ ที่ไวรัสที่ค้นพบนั้นเป็นตัวเดียวกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าชื่อจะเขียนไม่เหมือนกันทุกตัวอักษร แต่ความหมายที่แปลได้จากชื่อนั้นเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น W32.Klez.h@mm W32/Klez.h@MM WORM_KLEZ.H I-Worm.Klez.h เป็นต้น บทความนี้จะอธิบายถึงส่วนต่างๆ ของชื่อไวรัส เพื่อทำให้ผู้อ่านสามารถจำแนกแยกแยะประเภทของไวรัสจากชื่อของไวรัส ความสามารถเด่นๆ ตลอดจนวิธีการแพร่กระจายตัวของไวรัสได้

ส่วนประกอบของชื่อไวรัสนั้นแบ่งได้เป็นส่วนๆ ดังนี้

รูปที่ 1 แสดงส่วนประกอบต่างๆของชื่อไวรัส

        1. ส่วนแรกแสดงชื่อตระกูลของไวรัส (Family_Names) ส่วนใหญ่จะตั้งตามชนิดของปัญหาที่ไวรัสก่อขึ้น หรือภาษาที่ใช้ในการพัฒนา เช่น เป็นม้าโทรจัน ถูกพัฒนาด้วย Visual Basic scripts หรือเป็นไวรัสที่รันบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 32 บิต เป็นต้น ซึ่งชื่อของตระกูลของไวรัสที่ค้นพบในปัจจุบันดังตารางที่ 1


        2. ส่วนชื่อของไวรัส (Group_Name) เป็นชื่อดั้งเดิมที่ผู้เขียนไวรัสเป็นคนตั้ง โดยปกติจะถูกแทรกไว้อยู่ในโค้ดของไวรัส และในส่วนนี้เองจะเอามาเรียกชื่อไวรัสเปรียบเสมือนเรียกชื่อเล่น ตัวอย่างเช่น ชื่อของไวรัสคือ W32.Klez.h@mm และจะถูกเรียกว่า Klez.h เพื่อให้สั้นและกระชับขึ้น

        3. ส่วนของ Variant รายละเอียดส่วนนี้จะบอกว่าสายพันธุ์ของไวรัสชนิดนั้นๆ มีการปรับปรุงสายพันธุ์จนมีความสามารถต่างจากสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ variant มี 2 ลักษณะคือ
                - Major_Variants จะตามหลังส่วนชื่อของไวรัส เพื่อบ่งบอกว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่นหนอนชื่อ VBS.LoveLetter.A (A เป็น Major_Variant) แตกต่างจาก VBS.LoveLetterอย่างชัดเจน
                - Minor_Variants ใช้บ่งบอกในกรณีที่แตกต่างกันนิดหน่อย ในบางครั้ง Minor_Variant เป็นตัวเลขที่บอกขนาดไฟล์ของไวรัส ตัวอย่างเช่น W32.Funlove.4099 หนอนชนิดนี้มีขนาด 4099 KB.

        4. ส่วนท้าย (Tail) เป็นส่วนที่จะบอกว่าวิธีการแพร่กระจาย ประกอบด้วย
                - @M หรือ @m บอกให้รู้ว่าไวรัสหรือหนอนชนิดนี้เป็น "mailer" ที่จะส่งตัวเองผ่านทางอี-เมล์เมื่อผู้ใช้ส่งอี-เมล์เท่านั้น
                - @MM หรือ @mm บอกให้รู้ว่าไวรัสหรือหนอนชนิดนี้เป็น "mass-mailer" ที่จะส่งตัวเองผ่านทุกอี-เมล์แอดเดรสที่อยู่ในเมล์บอกซ์

ตัวอย่าง W32.HILLW.Lovgate.C@mm
แสดงว่า
        - อยู่ในตระกูลที่มีผลกระทบต่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 32 บิต และถูกคอมไพล์ด้วยภาษาระดับสูง
        - ชื่อของไวรัสคือ Lovgate
        - ที่มี variant คือ C
        - มีความสามารถในการแพร่กระจายผ่านทางอี-เมล์โดยส่งไปยังทุกอี-เมล์แอดเดรสที่อยู่ในเมล์บอกซ์
        จากส่วนประกอบของชื่อไวรัสที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่าชื่อของไวรัสนั้นสามารถบอกถึงประเภทของไวรัส ชื่อดั้งเดิมของไวรัสที่ผู้เขียนไวรัสเป็นคนตั้ง สายพันธุ์ต่างๆ ของไวรัสที่ถูกพัฒนาต่อไป และวิธีการแพร่กระจายตัวของไวรัสเองด้วย

วิวัฒนาการไวรัส
        วิวัฒนาการของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่ก่อกวนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังต้องยกให้ตระกูล “ไวรัส” สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อก่อกวนอย่างเดียวไม่ส่งผลกระทบกับข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสลบออก...ก็จบ! แต่ปีที่ผ่านมาวิวัฒนาการของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตก้าวเข้าสู่ตระกูล “เวิร์ม” หรือหนอนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความ สามารถในการก่อกวนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น หลบหลีกการตรวจจับของแอนตี้ไวรัสได้ดี ขึ้น และก่อกวนข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมก๊อบปี้ข้อมูลเพื่อทำให้เซิร์ฟเวอร์เต็มได้แม้ในขณะปิดเครื่อง และลบออกได้ยาก แพร่กระจายอย่างเร็ว จนเป็นที่ขยาดของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไปตาม ๆ กัน ล่าสุด ปี ค.ศ. 2007 ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตมีวิวัฒนาการมากขึ้น มาในรูปแบบของภัยคุกคามตระกูล “มัลแวร์” สายพันธุ์ม้าโทรจัน ที่มีความสามารถในการหลบหลีกและก่อกวนข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เจ้าของเครื่องปวดหัวมากขึ้น จากการเก็บข้อมูลของบริษัทผลิตซอฟต์ แวร์แอนตี้ไวรัสคอมพิวเตอร์ “บิทดีเฟนเดอร์” ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. รวม 10 เดือน พบโทรจันที่เกิดขึ้นใหม่ถึง 20.36% ซึ่งเป็นโทรจันที่ยังไม่มีฐานข้อมูลเพื่อตรวจจับและยังไม่มีซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสสำหรับจัดการ โดยแนวโน้มพัฒนาการของโทรจันปีหน้า (ค.ศ. 2008) จะเป็นโทรจันที่สร้างขึ้นเพื่อหลบหลีกการดักจับของแอนตี้ไวรัสมากขึ้น และจะมาในรูปแบบของการดาวน์โหลดซึ่งพ่วงเครื่องมือในการขโมยข้อมูลของเหล่า hacker มาด้วย หากพูดให้เห็นภาพต้องบอกว่า เมื่อคอมพิวเตอร์ติดโทรจันก็เท่ากับว่าในเครื่องคอม พิวเตอร์มีเครื่องมือในการขโมยข้อมูลของ hacker อยู่ด้วย เมื่อใดก็ตามที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ข้อมูลส่วนตัว อาทิ เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิตและรหัสบัตรเครดิต ที่เก็บไว้ในเครื่องจะส่งตรงถึง hacker ทันทีนอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ที่เคยมีข้อมูลนิดหน่อยก็จะเต็มในไม่ช้ากระทั่งเซิร์ฟเวอร์พังในที่สุด นายเจริญศักดิ์ ศักดิ์รัตนอนันต์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บิทดีเฟนเดอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า นอกจากการติดไวรัสโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้ว “สแปมเมล์” หรือ อีเมลขยะที่ผู้รับไม่พึงประสงค์ ซึ่งเนื้อหาของสแปมเมล์ที่ถูกส่งมากที่สุด 42.5% คือ การขายยาไวอากร้า ที่พลิกแพลงรูปแบบหลบหลีกการตรวจจับของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส โดยมาในรูปของไฟล์ภาพ (อิมเมจ) แบบเอียง ๆ และเป็นข้อมูลที่ต่างจากไฟล์ข้อมูลทั่วไป นอกจากนี้ 13.8% เป็นสแปมเมล์เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก แม้อีเมล์ขยะจะไม่ทำให้เครื่องพังเหมือนโทรจัน แต่ก็ทำให้เนื้อที่ในการรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เต็มโดยไม่จำเป็น อ่านถึงตรงนี้ อย่าชะล่าใจคิดว่าคอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัยจากไวรัส เพราะการสำรวจพบว่า 90% ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสมาจากพาหะที่เรียกว่า “ทัมไดรฟ์” วิธีง่าย ๆ ในการตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสหรือไม่ ให้กดปุ่ม Alt + Ctrl + Delete พร้อมกันทั้ง 3 ปุ่ม ในขณะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและยังไม่ได้เปิดใช้งานอื่นใด หากพบว่าเนื้อที่ในเซิร์ฟเวอร์ถูกใช้ไปมากทั้งที่ไม่ได้เปิดอย่างอื่นใช้งาน ให้เข้าใจได้เลยว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัสแล้ว! นายเจริญศักดิ์ บอกว่า ความน่ากลัวของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต การเติบโตของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต จะส่งผลให้ปีหน้าบริษัทต่าง ๆ รวมถึงผู้ใช้คอม พิวเตอร์ตามบ้านหันมาให้ความสนใจป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้ตลาดซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสปีหน้าโตมากกว่าปีนี้ 5 เท่า ซึ่งบิทดีเฟนเดอร์ได้ทุ่มงบพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการตรวจจับไวรัสและอัพเดท ข้อมูลทุกชั่วโมงมากกว่า2 เท่าของปีนี้ ล่าสุด บิทดีเฟนเดอร์ เปิดตัว ซอฟต์ แวร์แอนตี้ไวรัสเวอร์ชั่นภาษาไทยเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสของบิทดีเฟนเดอร์ที่เป็นภาษาท้องถิ่น โดยขณะนี้บิทดีเฟนเดอร์ทำซอฟต์แวร์แอน ตี้ไวรัสภาษาท้องถิ่นแล้วกว่า 18 ภาษา นอกจากนี้ยังดั๊มพ์ราคาให้ถูกลงสามารถสู้กับซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีราคา 120 บาทได้ สำหรับซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสของบิท ดีเฟนเดอร์ฉบับภาษาไทยมี 2 แบบ คือ Internet Security 2008 ราคา 399 บาท มีคุณสมบัติในการแอนตี้ไวรัส,สปายแวร์,ฟิชชิ่ง, สแปมเมล์,ไฟร์ วอลล์และมีคุณสมบัติของเกมเมอร์โมด (Gamer Mode) ช่วยให้เล่นเกมได้สบายขึ้น และมีพาเรนทัล คอนโทรล (Parental Control) ช่วยในการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ส่วน Total Security ราคา 599 บาท มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมา โดยเพิ่มในส่วนของฟีเจอร์ Tune-Up การควบคุม, ลบ, เรียกคืนไฟล์ และ Back-Up การเรียกคืนข้อมูลและเก็บข้อมูลเก่า โดยซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสทั้ง 2 แบบจะมีอายุการใช้งาน 1 ปี อ่านจบแล้วลองกดปุ่ม Alt + Ctrl + Delete ดูสิว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีไวรัสหรือเปล่า?.

เห็นว่าห้องแก้ปัญหาไวรัสยังเงียบ ๆ อยู่ เลยหาอะไรที่เกี่ยวกับไวรัสมาให้อ่าน เพื่อเป็นความรู้ไปก่อน และหากท่านใดโดนเข้าให้แล้ว ก็แก้ตามวิธีนี้ได้เลยครับท่าน [emo01]

บู๊ตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector or Boot Infector Viruses)
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านโปรแกรมบูตระบบที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ก่อน ถ้ามีไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในบูตเซกเตอร์ในบริเวณที่เรียกว่า Master Boot Record (MBR)
ในทุกครั้งที่เราเปิดเครื่อง ก็เท่ากับว่าเราไปปลุกให้ไวรัสขึ้นมาทำงานทุกครั้งก่อนการเรียกใช้โปรแกรมอื่นๆ

การป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์
โปรแกรมไวรัสเป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างได้ง่าย แต่ตรวจจับได้ยาก เปรียบเหมือนเชื้อโรคร้ายที่คอยทำลายบรรดาโปรแกรมและข้อมูลสำคัญบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากความสามรถในการสำเนาตัวเอง แฝงตัวและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัยของบรรดาข้อมูลต่างๆ ไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้สร้างความเสียหายสูงขึ้นไปทุกขณะ และแฝงตัวไปกับไฟล์ได้ทุกชนิดไม่เว้นแม้แต่
่ไฟล์รูปภาพ การ์ดอวยพร เพลง และภาพยนตร์ ในอนาคตสิ่งที่น่ากลัวคือผ่านทางระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (เทคโนโลยีโทรศัพท์ปัจจุบันนี้ไม่ต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เพราะสามารถรับส่งภาพ เพลง เกมและเล่นอินเทอร์เน็ตได้) จึงเป็นเป้าหมายใหม่สำหรับแฮกเกอร์และบรรดาผู้ที่พัฒนาไวรัสคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย การรับมือกับไวรัสคอมพิวเตอร์
ควรจะระวังป้องกันอย่างไร
เพื่อไม่ให้เข้าไปทำลายระบบและไฟล์ข้อมูลอันสำคัญของเรา ง่ายๆ ถ้าคุณทำได้โอกาสที่ไวรัสจะสร้างความเสียหาย
ให้ก็น้อยลง วิธีการมีดังนี้
- ทุกครั้งที่ได้รับซอฟท์แวร์ที่ไม่ทราบแหล่งผลิต หรือได้รับแจกฟรี หรือดาวน์โหลดมาใช้ฟรีๆ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำมาใช้งาน
- การทำสำเนาแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องต้องตรวจสอบก่อนทุกครั้ง อย่ามั่นใจแม้จะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสติดตั้ง
อยู่ในเครื่องแล้วก็ตาม ควรสำรองข้อมูลที่สำคัญไว้เสมอๆ
- ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาใช้เครื่องของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะการนำโปรแกรมต่างๆ มาติดตั้งในเครื่อง)
- พยายามสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์โตขึ้นหรือเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ลดลงมากผิดปกติ หน้าจอแสดงผลแปลกๆ ไฟฮาร์ดดิสก์ติดสว่างไม่ยอมดับ
- ควรหาโปรแกรมป้องกันไวรัสติดตั้งไว้ในเครื่องและ หมั่นอัพเดทซิกเนเจอร์ไวรัส อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไวรัส
ชนิดใหม่ๆ (ปกติจะมีการอัพเดททุกๆ สัปดาห์) เช่น McAfee, Norton, PC-Cillin, Panda เลือกใช้กันเองนะครับ
- สำหรับนักท่องเน็ตทั้งหลาย ต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น ด้วย ไม่เปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์จากคนที่คุณไม่เคยรู้จักมาก่อน
ส่วนใหญ่จะมีข้อความเชิญชวน เช่น ข้อมูลสำคัญที่คุณต้องการ ภาพเด็ดๆ เพื่อคุณ หรืออื่นๆ (ถ้าติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้จะช่วยตรวจสอบให้คุณได้ ถ้าโปรแกรมได้รับการอัพเดทบ่อยๆ)
- หลีกเลี่ยงการคลิกป้ายโฆษณาเชิญชวนในลักษณะที่บอกว่าจะทำให้คุณท่องเน็ตได้เร็วและนาน สามารถเข้าดูภาพ
ลับเฉพาะได้ เพราะนั่นคือกับดักที่ล่อให้คุณติดกับ
- หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ไม่ทราบที่มา หรือไม่ทราบว่าโปรแกรมนั้นใช้ทำอะไร หรือในแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
น่าเชื่อถือ
*โปรแกรมป้องกันไวรัสสามารถหามาใช้งานได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิต หรือแหล่งดาวน์โหลดใหญ่ๆ เช่น Download.com, Tucows.com, Thaiware.com ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ให้
ทดลองใช้ 30 วัน
แห่งอัพเดทซิกเนเจอร์ไวรัส มีอยู่ที่ไหน ก็สังเกตุง่ายๆก็ www.ตามด้วยชื่อยี่ห้อหรือบริษัทโปรแกรมไวรัสฯที่เราใช้นั่นแหละ
และอีกแห่งหนึ่งที่อยากแนะนำที่ผมเข้าไปใช้บริการค่อนข้างบ่อยที่ห้องสมุด มช.ที่
http://www.med.cmu.ac.th/library/ITCorner/VirusAlert/VirusAlert.htm

การที่เราอัพเดทก็หมายถึงการเพิ่ม
ประสิทธิภาพของโปรแกรมในการตรวจจับและกำจัดไวรัส และการเพิ่มรายชื่อไวรัสหรือที่ผมชอบพูดเสมอว่าปาร์ตี้ลิสต์เพื่อที่จะให้โปรแกรมทราบว่ามีรายชื่อไวรัสอะไรบ้างที่จะต้องกำจัด ถ้าเราไม่อัพเดทก็หมายความว่าไวรัสชื่อใหม่ๆ โปรแกรมป้องกันไวรัสของท่านก็ป้องกันกำจัดไม่ได้เพราะไม่มีชื่อไวรัสในปาร์ตี้ลิสต์ หาไปก็ไม่รู้จัก อย่างไรก็ตามถ้าเราช้าและไม่ได้สนใจก้มหน้าก้มตาใช้อย่างเดียว เราอาจจะสายเกินสำหรับการป้องกันและกำจัด เครื่องคอมฯเราอาจจะพังหรือแก้ไขไม่ได้ก็เหลือวิธีสุดท้ายก็คือฟอร์แมทต์ล้างฮาร์ดดิสต์ แล้วหาโปรแกรมใหม่ดีๆไว้ใจได้ลงใหม่ หรือเปลี่ยนฮาร์ดดิสต์ใหม่เลย นั่นหมายถึงเสียเงินแน่นอนและหลายตังค์ด้วย สุดท้ายในข้อเสนอส่วนตัวจริงๆครับและเป็นส่วนตัวของผม อยากขอร้องให้เราอย่าเชื่ออะไรที่ไม่เข้าท่า ไม่เข้าที ไม่อย่างนั้นเราก็จะเป็นเหยื่อรายแล้วรายเล่า ศึกษาให้รู้เท่าทัน อย่าปิดตัวเอง ท่านจะตามไม่ทัน แก้ไม่ได้แล้วต้องเสียเงินมากมาย ที่สำคัญที่สุดอย่าปิดหัวใจนะครับท่าน