วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติพระธาตุปางหลวง

วัดพระธาตุลําปางหลวง
14-04-2010 Views: 3944

วัดพระธาตุลําปางหลวง เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงาม และมีความสําคัญทางด้านประวัติศาสตร์ วัดพระธาตุลําปางหลวงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองลําปาง ตามตํานานกล่าวว่า มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ตัววัดตั้งอยู่บนเนิน มีบันไดนาคทอดขึ้นสู่ตัววัด วัดพระธาตุลําปางหลวง ตั้งอยู่ที่ ต.ลําปางหลวง ห่างจากตัวเมืองลําปาง ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลําปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอําเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร วัดพระธาตุลําปางหลวง มีพุทธสถานที่น่าสนใจได้แก่ วิหารหลวง ซึ่งเป็นวิหารขนาดใหญ่ เปิดโล่ง มีกู่บรรจุพระเจ้าล้านทอง เป็นประธานของพระวิหาร หลังพระวิหารมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่รั้วทองเหลือง รอบองค์พระเจดีย์มีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฎอยู่ ด้านขวาองค์เจดีย์เป็นวิหารน้ำแต้ม (แต้ม แปลว่าภาพเขียน) เป็นวิหารเปิดโล่ง ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก ด้านซ้ายของพระเจดีย์เป็นวิหารพระพุทธ เป็นอาคารปิดทึบ มีพระประธานแบบเชียงแสนองค์ใหญ่อยู่เต็มอาคาร หน้าบันของวิหารพระพุทธเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี และพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งรวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น สังเค็ดธรรมาสนเทศน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น นอกจากนี้ วัดพระธาตุลําปางหลวง ยังเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วดอนเต่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลําปาง ทุกปีจะมีงานประจําปีในวันเพ็ญเดือน 12

ประวัติสุนทรภู่


พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆเรื่อง
ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

ประวัติวัดพระสิงห์วรวิหาร


ประวัติ วัดพระสิงห์ วรวิหาร               พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ขั้นแรกให้สร้างเจดีย์สูง ๒๓ วา เพื่อบรรจุพระอัฐิ ของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีกสองปีจึงสร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฎิสงฆ์เรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลี" ต่อมาบริเวณหน้าวัดมีตลาดเกิดขึ้นชาวบ้านเรียกว่า "ตลาดลีเชียง" แล้วเรียกวัดว่า "วัดลีเชียง" และ "วัดลีเชียงพระ" ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๕๔ สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเช ียงราย เมื่อขบวนช้างอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาถึงหน้าวัดลีเชียงก็ไม่ยอ มเดินทางต่อ
พระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน ณ วัดลีเชียง ประชาชนทางเหนือนิยมเรียก"พระพุทธสิหิงค์" สั้นๆ ว่า "พระสิงห์" จึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่า "วัดพระสิงห์"
            เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้ากาวิละได้ โปรดฯ ให้สร้างอุโบสถ และหอไตรขึ้น โดยมีลักษณะเป็นอาคารทรงล้านนาขนาดใหญ่ ตรงกลางอาคารมีกู่ซึ่งแต่เดิมคงเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระประธ าน

ตำนานพระสิงห์(พระพุทธสิหิงค์)
  • พระมหาเถรโพธิรังสีชาวหิริภุญไชย รจนาภาษาบาลีไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. ๗๐๐ พระเจ้าสีหฬะแห่งลังกาทวีป ได้โปรดให้หล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่งเรียกว่า "พระพุทธสิหิงค์" แต่ในชินกาลมาลีปกรณ์เรียกว่า"สีหฬะปฏิมา" ตามนามกษัตริย์ผู้สร้าง
  • พ.ศ. ๑๘๓๙ - กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช ได้แต่งทูตไปขอคัมภีร์พระไตรปิฎกจากลังกา และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์อีกองค์หนึ่ง(ศิลปะลังกา)กลับมาด้วย ภายหลังมาประดิษฐานอยู่ที่กรุงสุโขทัย เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ตีกรุงสุโขทัยได้ หลายสิบปีต่อมาพญาไสลือไทยได้อัญเชิญมาไว้ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อพญาไสลือไทยสิ้นพระชนม์ จึงอัญเชิญมาที่กรุงศรีอยุธยา
  • พ.ศ. ๑๙๒๗ - พระญาณดิศ เชื้อวงศ์พระร่วงได้กราบทูลพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาขออัญเชิญมาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร
  • พ.ศ. ๑๙๓๔ - เจ้ามหาพรหม พระปิตุลาของเจ้าแสนเมืองมาได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเชียงราย ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏ วัดที่ประดิษฐานพระพุทธสิงหิงค์อีกแห่งหนึ่ง ที่เมืองเชียงรายมีชื่อว่า วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย และโปรดให้หล่อพระพุทธสิหิงค์จำลองขึ้น เมื่อเจ้ามหาพรหมถึงแก่พิราลัยแล้ว พระพุทธสิหิงค์จึงได้มาประดิษฐาน ณ วัดลีเชียงพระ ในนครเชียงใหม่ เช่นเดิม
  • พ.ศ. ๒๐๘๔ - พระไชยเชษฐากษัตริย์ล้านช้างเชื้อสายล้านนา ทรงนำพระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธรูปจากเชียงใหม่หลายองค์ไปไว้ที่ล้านช้าง(หลวงพระบาง) เมื่อทางเชียงใหม่ทวงถามจึงทรงคืนพระพุทธสิหิงค์มาเพียงองค์เดียว
  • พ.ศ. ๒๒๐๕ - สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกทัพมารบเชียงใหม่ และทรงอัญเชิญลงไปไว้ที่อยุธยาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้อยู่นานถึง ๑๐๕ ปี
  • พ.ศ. ๒๓๑๐ - กรุงศรีอยุธยาแตก ทัพทหารเชียงใหม่ที่มาในกองทัพพม่าอัญเชิญกลับนครเชียงใหม่ทางเรือ และประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  รวมแล้วประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ เป็นระยะเวลา ๒๘   ปี
  • พ.ศ.๒๓๓๘   ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ  จนถึงปัจจุบัน (พระประธาน)

ประวัติวัดพระแก้ว




วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 
          พระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหารัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ภายในวัดพระแก้วนี้มีสิ่งสำคัญและสวยงามอยู่มากมาย เช่น
พระอุโบสถหรือโบสถ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย มีระเบียงเดินได้รอบพระอุโบสถ

          ผนังอุโบสถสวยงามมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปูนปั้นปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก บานประตูหน้าต่างทั้งหมดประดับมุกโดยฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ภายในพระอุโบสถนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่คนไทยรียกกันจนติดปากว่า พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียวเข้มที่มีค่าและหายากมาก ถ้าใครเคยไปแถวสนามหลวง จะมองเห็นกำแพงยาวสีขาวล้อมรอบวัดอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่โตและสวยงามมากทีเดียว ทราบไหมว่าเป็นสัตว์อะไร ก็วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั่นไง เรามาดูกันดีกว่าวัดนี้มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมากันอย่างไร
          วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้มีลักษณะที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในวัดนี้เลยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับหลายคนคงเคยไปนมัสการพระแก้สมรกตกันมาแล้ว เคยสังเกตไหมว่าพระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ทราบหรือไม่ว่ามีเครื่องทรงฤดูอะไรบ้าง และจะเปลี่ยนเครื่องทรงเมื่อไร
เครื่องทรงของวัดพระแก้วมรกตมีเครื่องทรงฤดูร้อน เครื่องทรงฤดูฝน เครื่องทรงฤดูหนาว ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วยทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑

          จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูหนาว

          นอกจากพระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตแล้ว ภายในวัดพระแก้วก็ยังมีพระระเบียงที่งดงามมาก ผนังด้านในของพระระเบียงมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และมีคำโคลงจารึกบนแผ่นศิลาเพื่ออธิบายแต่ละภาพติดไว้ที่เสาระเบียงอีกด้วย
สิ่งสำคัญและสวยงามในวัดพระแก้วอีกอย่างหนึ่งคือ ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทจัตุรมุขยอดปรางค์ ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับหอพระมนเทียรธรรม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔

          ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักกรีตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๘ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ ฯ ไปทรงถวายราชสักการะพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี อันเป็นวันที่ระลึกถึงพระมหาจักรีวงศ์ หรือที่เราเรียกว่า “ วันจักรี ”
ในบริเวณวัดพระแก้วนี้ยังมีสถานที่สำคัญและงดงามอีกมากมาย เช่น พระมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร เป็นพระมณฑปที่มีรูปทรงงามมาก มีซุ้มประตูทางเข้า ๔ ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดงประดับกระจก ภายในพระมณฑปประดิษฐานตู้พระไตรปิฎก เป็นตู้ยอกมณฑปประดับมุกที่ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎกฉบับทอง

          สถานที่งดงามซึ่งทุกคนจะได้พบเห็นนอกจากนี้ก็ยังมี พระศรีรัตนเจดีย์ วิหารยอดหอมณเทียรธรรม นครวัดจำลอง หอระฆัง ศาลาราย ฯ ถ้าอยากเห็นสถานที่สำคัญและสิ่งสวยงามต่าง ๆ เหล่านี้ก็ต้องไปชมกันที่วัดพระแก้ว

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติถำปลา

ประวัติและความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
    อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลา และวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ปายฝั่งขวา ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอปางมะผ้า และด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน แนวเทือกเขาจะทอดยาวตามแนวเหนือใต้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ที่สวยงามเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป เหมาะสำหรับการไปพักผ่อนหย่อนใจอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีเนื้อที่ประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 305,000 ไร่  ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2540 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ โดยเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 652/2528 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ลงวันที่ 10 เมษายน 2538 และคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 240/2539 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ให้นายพินิต สุวรรณรัตน์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลาและวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ  ผลการสำรวจได้รวบรวมพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติจำนวน 305,000 ไร่ หรือประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาตินี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างแท้จริง และได้กันพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน ออกจากที่จะประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว ประกอบกับทางอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการประสานงานกับ หน่วยงานอื่น อาทิเช่น ฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด จึงไม่มีปัญหามวลชนแต่อย่างใดและต่อมา คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้มีการประชุมเมื่อวันที่29 พฤษภาคม 2539 ซึ่งมีนายสมเจตน์   วิริยะดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
                ปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
ถ้ำปลา-ผาเสื่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป


ถ้ำปลา

               เป็นถ้ำใต้เชิงเขา มีธารน้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดทั้งปี บริเวณปากถ้ำเป็นวังน้ำกว้างประมาณ 2 เมตร และลึก 1.5 เมตร สามารถมองเห็นฝูงปลาขนาดใหญ่ มีสีดำเทาอมฟ้า เรียกว่า ปลามุงหรือพลวง ภายในถ้ำจะมีปลาดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะชาวบ้านเชื่อว่าปลานี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ หากใครนำมารับประทานจะพบภัยพิบัติ บริเวณหน้าถ้ำมีอาหารปลาจำหน่ายซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมซื้อและให้อาหารปลาอยู่เสมอ นอกจากนี้ถ้ำปลายังมีทิวทัศน์ของสภาพป่า หน้าผาเขาหินปูนอันเป็นธรรมชาติที่สวยงามมากถ้ำปลาอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 สายแม่ฮ่องสอน-แม่มาลัย ระหว่าง กม. 191-192 ห่างจากเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 17 กิโลเมตร  สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง ที่ถ้ำปลามีร้านจำหน่ายอาหารเปิดบริการกิจกรรม - ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา


ลักษณะภูมิประเทศ

               เป็นแนวเทือกเขาหลายเทือกสลับเป็นลูกคลื่นต่อเนื่องไปจนจดชายแดนพม่าทางด้านทิศเหนือ มีความลาดชันมาก จุดสูงสุดเป็นยอดเขาดอยลาน สูงประมาณ 1,918 เมตรจากระดับน้ำทะเล อาณาเขตทิศเหนือจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ทิศใต้จดห้วยหมากอื้นและห้วยผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันออกจดลำน้ำของ กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันตกจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า


ลักษณะภูมิอากาศ
              จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล
            ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเล และมหาสมุทร ทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในรอบปี
            ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคมเป็นช่วงที่เกิดหมอกมากที่สุดประมาณ 21 - 26 วัน ส่วนมากเกิดตอนรุ่งเช้า โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยได้ 9.80 องศาเซลเซียส
            ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วโดยเฉพาะเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดในรอบปี โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 34.09 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
              สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อสามารถจำแนกออกได้เป็น
              ป่าดงดิบ  ส่วนใหญ่จะเป็นผืนป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาครอบคลุมพื้นที่ประมาณ  35เปอร์เซ็นต์ สภาพดินค่อนข้างลึก มีความชุ่มชื้นสูง ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ประดู่ ตีนเป็ด ก่อ ฯลฯ พืชพื้นล่างจะพบหวาย ขิง ข่าป่า และเฟิน มากมาย
               ป่าสนเขา เป็นป่าที่พบในพื้นที่สูงประมาณ 300-1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีทั้งสนสองใบและสนสามใบ ส่วนใหญ่จะขึ้นปะปนอยู่กับป่าเต็งรังพืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา
               ป่าเบญจพรรณ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ พบตามที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขา ตลอดจนริมห้วยทางตอนเหนือและตอนกลางของพื้นที่ จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะแบก มะค่าโมง ประดู่ แดง ไทร และงิ้วป่า
                ป่าเต็งรัง พบตามสันเขาและตามที่ลาดชันที่ระดับความสูงประมาณ 300-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ สภาพดินตื้น มีก้อนหินโผล่ กรวด และลูกรังปะปน ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าแต้ เต็ง รัง ตะแบกนา เป็นต้น  จากการสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติพบไม่น้อยกว่า 408 ชนิด เช่น เลียงผา กระทิง ควายป่า หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า กระต่ายป่า และนกนานาชนิด ฯลฯ นก 123 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 30 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 5 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 30 ชนิด ปลาน้ำจืด 20 ชนิด แมลง 200 ชนิด

ลักษณะที่โดดเด่นของแหล่งข้อมูล
                    ถ้ำปลาเป็นถ้ำใต้เชิงเขา มีธารน้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดทั้งปี บริเวณปากถ้ำเป็นวังน้ำกว้างประมาณ 2 เมตร และลึก 1.5 เมตร สามารถมองเห็นฝูงปลาขนาดใหญ่ มีสีดำเทาอมฟ้า เรียกว่า ปลามุงหรือพลวง ภายในถ้ำจะมีปลาดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะชาวบ้านเชื่อว่าปลานี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์